Friday, June 28, 2013

มะเฟือง

   มะเฟือง
 

รหัส:
7-10110-003-179
ต้นไม้ประจำตัวครู: คุณครูวิบูลย์ลักษณ์  สายะโสภณ
ตำแหน่ง: ครูผู้สอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Averrhoa carambola L.
ชื่อวงศ์: OXALIDACEAE
ชื่อสามัญ: Carambola
ชื่อท้องถิ่น: ส้มเฟือง
ลักษณะวิสัย: ไม้ต้น

ลักษณะทั่วไป:
 ไม้ยืนต้นสูง 3-5 เมตร  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก  ปลายคลี่  เรียงสลับใบย่อย 5 -11 ใบ  รูปใบหอกแกม  ขอบขนาน กว้าง 2-4   เซนติเมตร 
ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายแหลม ลำต้นมีสรน้ำตาล  เปลือกลำต้นไม่เรียบ  ใบเป็นปบประกอบรวมกันแผงคล้ายใบมะยม  รูปใบมนรีขอบใบเรียบ  ก้านใบสั้น  ใบย่อย
ที่ปลายก้านมักใหญ่  ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ
ประโยชน์:  ใช้เป็นเครื่องเคียงอาหารรับประทานสดๆ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด  และตอนกิ่ง
การกระจายพันธุ์: คาบสมุทรแปซิฟิก และมาเลเซีย แพร่กระจายในเขตร้อนทั่วไป รวมทั้งประเทศไทย
การปลูก:  มะเฟืองเป็นต้นไม้ที่มีความสวยงาม  ทั้งทรงต้น  ดอกช่อ  และรูปผล  สามารถปลูกเป็นไม้ประดับภายในบ้านได้เป้นอย่างดี  เป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพที่
ความชื้นสูง  ทั้งที่มีแสงแดดจัด หรือแสงแดดปานกลาง  ในกรณีที่จะปลูกเป็นไม้ประดับ ควรปลูกในที่มีแสงแดดปานกลางา  มีความชื้นสูง ต้นจะเขียวสวย ตัดกับ
ช่อดอกซึ่งมีสีม่วงแกมแดง

 มะเฟืองหน้าบ้าน
และแล้วในที่สุด ผมก็นึกขึ้นมาได้คงจะต้องเขียนเรื่องของมะเฟืองนี้ได้แล้ว หลังจากที่ได้กินไปเมื่อสัปดาห์ก่อนเพียงลูกเดียว เนื่องจากคุณน้องกับท่านผบ.ทบ.ได้กินประมาณ4-5ลูกใหญ่จนหมด แต่โชคดียังมีอีกลูกหนึ่งยังไม่ได้ปลอกหรือหั่นออกมา ผมจึงขอออกเสียงครอบครองมะเฟืองผลนี้ ซึ่งเป็นลูกสุดท้ายในชุดแรกที่ออกมา
รสชาติที่ได้ถึงแม้จะมาจากลูกที่เล็กไม่สมบูรณ์ แต่ก็ออกหวานๆไม่เปรี้ยว เมื่อดูสีของดอกก็เป็นไปตามที่คุณGolbได้บอกไว้ว่าก่อนหน้านี้
“มะเฟืองบ้านผมออกดอกอีกแล้วแต่ไม่ดก เค้าว่าดอกขาวจะเปรี้ยวดอกแดงๆชมพูๆจะหวาน”
สำหรับที่เคยเขียนไปก่อนหน้านี้ว่าออกมาได้เกือบยี่สิบลูกนั้น ผู้อ่านหลายท่านคงสงสัยว่าเหตุใดจึงเหลือเพียงไม่กี่ลูกเท่านั้น คำตอบก็คือคนในบ้านผมนั้นเองที่ค่อยๆทยอยกิน(โดยที่ผมไม่รู้ตัว) และยังมีเหตุที่สองคือในระหว่างที่รออยู่นั้นลูกมะเฟืองก็เกิดการตกหล่นพื้น ไปซะก่อน กินไม่ได้ กับประการสุดท้าย(ซึ่งสร้างความโกรธเล็กน้อย)ก็คือมีคนแอบจิ๊กโดยไม่บอกกัน เลยนั้นเอง
นอกจากที่ผมคนหนึ่งได้นำรูปและเรื่องราวของมะเฟืองมาลงในบล็อก พ่อของผมก็ยังนำไปลงในบอร์ดของรุ่น ผลก็คือเป็นที่ฮือฮาตื่นเต้นกันเป็นการใหญ่ เนื่องจากมีหลายคนในรุ่นที่ปลูกมานานแล้ว แต่ลูกไม่ออกซะที จึงได้มีการสนทนาในวิธีการปลูกกันพอสมควร และที่ให้เหตุผลไปก็คือแค่ใส่ปุ๋ยให้ถูกเท่านั้น ไม่มากก็น้อยคนตอบยังสงสัยเองเลยว่าเป็นเพราะปุ๋ยที่ใส่ลงไปจริงๆหรือ?
…จนมาวันหนึ่งแม่บ้านผมก็สังเกตว่าตรงบริเวณโคนต้น ได้มีกิ่งแยกออกมาเป็นกิ่งใหญ่กับกิ่งเล็ก(ดูจากภาพล่าง) เมื่อไล่ดูไปตามแต่ละกิ่งพบว่ากิ่งเล็กมีลูกออกตามปกติ ในขณะที่กิ่งใหญ่ไม่มีลูกออกมาเลย จึงพอสรุปได้ว่ามีการใช้เทคนิคทาบกิ่ง(ผู้เขียนไม่แน่ใจนะครับว่าเรียกถูก หรือไม่) กิ่งเล็กเป็นกิ่งลูกดก ในขณะที่กิ่งใหญ่เป็นแบบรากแข็งแรงและอาจจะแก่ด้วย
แม่ผมซึ่งเป็นผู้ซื้อมาปลูกจากจตุจักร ไม่ทราบว่าเป็นต้นกิ่งทาบแต่ประการใด แต่ก็ดีแล้ว …ปริศนาได้รับการเฉลย …ดอกชุดใหม่กำลังบาน …รอให้สุก …แล้วก็กินนะสิครับ

0 comments:

Post a Comment